วันพุธที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2556

                                                      สินค้าOTOP 5ดาวจังหวัดชุมพร
กล้วยเล็บมือนางเคลือบช็อคโกแลต
ประวัติความเป็นมา
เริ่มจากกล้วยเล็บมือนาง เป็นกล้วยท้องถิ่น อันเป็นสัญญลักษณ์จังหวัดชุมพรและกล้วยเล็บมือนางอบแห้งก็เป็นสินค้าประจำจังหวัดมาช้านาน จึงได้คิดเพิ่มเติมคุณค่า ให้เป็นขนมสำเร็จรูปมากขึ้น อร่อย แปลกใหม่ต่างจากขนมสำเร็จรูปสมัยนิยมทั่วไป และขยายฐานการตลาด ซึ่งได้ทำการผลิตมาแล้วกว่า 5 ปี
 กระบวนการขั้นตอนการผลิต
กล้วยเล็บมือนางอบแห้ง นำมาจุ่มช็อกโกแลต โดยให้เคลือบอย่างสม่ำเสมอ โรยทับ/คลุกกับเม็ดมะม่วงหิมพานต์ที่ปั่น/อบแล้ว ในอัตราส่วน กล้วยเล็บมือนาง 55% ช็อกโกแลต 20% เม็ดมะม่วงหิมพานต์ 25%
 จุดเด่นของผลิตภัณฑ์

การนำเอาผลไม้อบแห้งมาชุปช็อกโกแลตและคลุกเม็ดมะม่วงหิมพานต์ที่ยังไม่มีใครคิดทำมาก่อน จึงเป็นผลิตภัณฑ์ที่แปลกใหม่

ควีนชุมพร

ประวัติความเป็นมา
กลุ่มอาชีพตำบลท่าตะเภา ได้รับการฝึกอบรมด้านการประดิษฐ์ดอกไม้จากดิน จากทางศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดชุมพร เมื่อเรียนจบมาแล้วได้รวมตัวตั้งกลุ่มประดิษฐ์ดอกไม้ในแบบต่าง ๆ ซึ่งได้รับการยอมรับจากลูกค้าทั่วไป แต่ทุนของกลุ่มมีน้อย ขอความร่วมมือและขอรับการสนับสนุนจากเทศบาลเมืองชุมพร ท่านนายกเทศมนตรีเมืองชุมพร ให้การสนับสนุนเป็นอย่างดี ด้านการเงิน วัสดุ อุปกรณ์ วิชาการบริหารกลุ่ม ด้านการตลาด ปัจจุบันสมาชิกกลุ่มมีรายได้เพิ่มขึ้น กลุ่มโตขึ้น
 กระบวนการขั้นตอนการผลิต
รีดดินสีขาว ตัดกลีบดอกด้วยพิมพ์ตัด กดลายกลีบดอก คลึงขอบกลีบให้บาง ทากาวติดลวด รอให้แห้งเพ้นท์สีตามต้องการ เข้ากลีบดอกและเกสรสับหว่างกัน ห้มดินสีขาวโคนกลีบดอก เพ้นท์สีเขียวโคนกลีบ รีดดินสีเขียวตัดใบ เล็กใหญ่ตามต้องการ รอให้แห้งนำไปประกอบเข้ากับช่อดอกและต้นที่ทำเตรียมไว้ หุ้มดินสีเขียวให้เรียบร้อยรอให้แห้งพร้อมปลูก
 จุดเด่นของผลิตภัณฑ์
สวยงามเป็นธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นรูปทรงของลำต้นและดอก
 ปริมาณการผลิต50 ต้น/เดือน


กล้วยเล็บมือนางอบแห้ง
ประวัติความเป็นมา
เดิมชาวบ้านได้นำกล้วยเล็บมือนางซึ่งเป็นกล้วยที่มีอยู่ในพื้นที่ตำบลสลุยมาวางขายบริเวณศาลพ่อตาหินช้างซี่งเป็นที่สักการะบูชาของบุคคลทั่วไป ต่อมาได้มีการนำกล้วยมาตากแดด นำมาขายเป็นกล้วยตาก และวิวัฒนาการการผลิตมาจนเป็นการอบด้วยตู้อบในปัจจุบัน และมีการรวมกลุ่มกันผลิตโดยได้รับการสนับสนุนส่งเสริมในด้านต่าง ๆ จากหน่วยงานภาครัฐ เช่นสำนักงานพัฒนาชุมชน จนปัจจุบันเป็นสินค้าที่คุณภาพ เป็นที่รู้จักของคนทั่วไป
 กระบวนการขั้นตอนการผลิต
1. สะอาดคัดกล้วยแก่จัดจากสวน มาบ่มให้สุกงอมตามธรรมชาติ
2. นำกล้วยที่สุกงอม ปอกเปลือก แล้วนำเข้าตู้อบ
3. นำกล้วยอบออกจากตู้อบมาพักให้น้ำหวานออกจากตัวกล้วย
4. นำกล้วยเข้าตู้อบอีกครั้ง
5. นำกล้วยมาใส่บรรจุภัณฑ์
 จุดเด่นของผลิตภัณฑ์
สะอาดปลอดภัย ไม่ใช้สารเคมีและสิ่งเจือปน รสชาติดี มีกลิ่นหอมตามธรรมชาติ
 ปริมาณการผลิต
ผลิตตามความต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ
กล้วยอบสมุนไพร
ข้อมูลผลิตภัณฑ์
ประวัติความเป็นมา
เริ่มทำเมื่อปี พ.ศ. 2540 ช่วงราคากล้วยในท้องถิ่นตกต่ำขายไม่ได้จึงได้คิดสูตรขึ้นมาและทดลองทำออกมาจำหน่ายและปรับปรุงพัฒนาจนติดตลาดเป็นที่นิยมและมีพ่อค้านำไปจำหน่ายยังต่างประเทศและต่างจังหวัดเกือบทุกภาค
กระบวนการขั้นตอนการผลิต
1. ปอกกล้วยแช่น้ำ
2. นำไปทอด
3. นำกล้วยที่ทอดแล้วลงแช่น้ำเชื่อมแล้วนำไปทอดใหม่ในน้ำมันใหม่
4. นำไปเข้าตู้อบเพื่อไล่น้ำมันจนแห้งกรอบ
5. นำออกจากตู้อบใส่บรรจุถุงเพื่อจำหน่าย
จุดเด่นของผลิตภัณฑ์
กรอบนุ่ม ทานแล้วหยุดไม่ได้
ปริมาณการผลิต
1,000 ถุง/วัน ถุงละ 100 กรัม
ราคา
80 กรัม / 15 บาท   100 กรัม / 20 บาท 200 กรัม /35 บาท   400 กรัม/ 50 บาท
สถานที่จำหน่าย
- 68 ม.2 ต.ท่ามะพลา อ.หลังสวน จ.ชุมพร 0-7754-4622
    
กล้วยอบเล็บมือนาง
    ข้อมูลผลิตภัณฑ์
ประวัติความเป็นมา
พ.ศ. 2542 เกิดวิกฤติเศรษฐกิจประชาชนว่างงานจึงได้คิดนำกล้วยเล็บมือนางมาทอดบรรจุถุงพลาสติกขาย และเป็นของฝาก ปรากฏว่าได้รับความนิยมจากคนที่รับประทาน เนื่องจากรสชาติอร่อย จึงได้เกิดแรงบันดาลใจในการแปรรูปกล้วยเล็บมือนาง เป็นอย่างอื่นร่วมด้วยในปี 2542 เช่น เค้กกล้วยเล็บมือนาง คุกกี้กล้วยอบ ทองม้วน ฯลฯ
กระบวนการขั้นตอนการผลิต
1.คัดเลือกกล้วยดิบที่มีคุณภาพบ่มให้สุก
2. กล้วยสุกล้างให้สะอาด ปอกเปลือก
3. จัดวางเรียงในตะแกรง
4. อบในตู้อบลมร้อน
5. ตรวจสอบคุณภาพ รสชาติ
6. บรรจุภัณฑ์
7. ตรวจสอบบรรจุภัณฑ์
8. จัดจำหน่าย
จุดเด่นของผลิตภัณฑ์
สัญลักษณ์ เชลล์ชวนชิม สัญลักษณ์ อร่อยทั่วไทย
ปริมาณการผลิต
10,000 กล่อง/เดือน
ราคา
200 กรัม/30 บาท  40 กรัม /10 บาท
สถานที่จำหน่าย
- 13 ม.3 ต.แหลมทราย อ.หลังสวน จ.ชุมพร 0-7754-1897
                                                   กาแฟผงปรุงปรุงรสสำเร็จรูปทรีอินวัน
ข้อมูลผลิตภัณฑ์
ประวัติความเป็นมา
กระบวนการขั้นตอนการผลิต
กลุ่มเกษตรกรทำสวนเขาทะลุ ได้รวมตัวกันเพื่อแก้ปัญหาราคากาแฟตกต่ำ สร้างความเดือนร้อนให้กับเกษตรเป็นอย่างมากกลุ่มคิดที่จะเพิ่มมูลค่าผลิต โดยรวมผลิตแล้วทำไปจ้างบริษัทแห่งหนึ่งทำการสเปรย์ดราย แล้วนำมาผสมส่วนผสมและบรรจุที่กลุ่ม นำกาแฟเกล็ด (ที่ทำการจ้างสเปรย์ดราย) ครีมเทียม น้ำตาล เอาส่วนผสมทั้ง 3 มาผสม ตามอัตราส่วนหลังจากนั้น นำเข้าเครื่องซีลซองเล็ก แล้วทำซองเล็กบรรจุ ซองใหญ่ จำนวน 30 ซองเล็ก ต่อ 1 ซองใหญ่ 18 ซอง/ใหญ่ต่อ 1 ลัง
จุดเด่นของผลิตภัณฑ์
เป็นกาแฟที่มีรสชาติอร่อย เข้มข้น นุ่ม กลมกล่อม
ปริมาณการผลิต
2,000 ลัง/เดือน หรือ 136,000 ถุง
ราคา
66 บาท
สถานที่จำหน่าย
14/1 หมู่ที่ 5 ตำบลเขาทะลุ อำเภอสวี จังหวัดชุมพร ต.เขาทะลุ อ.สวี จ.ชุมพร 0-7762-0009


สถานที่เที่ยวของชุมพรที่1ทะเลหาดทรายรี
                     
สถานที่เที่ยวที่2




หาดทุ่งวัวแล่นชุมพร 
 

 หาดทุ่งวัวแล่น
    เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงมากที่สุดของอำเภอนี้ ตั้งอยู่ที่ตำบลสะพลีshell1.jpg (3992 bytes) ห่างจากตัวจังหวัดชุมพรไป ตามถนนลาดยางสายชุมพร-หาดทุ่งวัวแล่น ระยะทางประมาณ 16 กม. อยู่ทางตอนใต้สุดของ อำเภอปะทิว เป็นชายหาดที่มีเม็ดทรายสีขาวนวลละเอียด ลักษณะหาดค่อย ๆ ลาดเอียงลงทีละน้อยจึงเป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยวและชาวต่างประเทศมากแห่งหนึ่ง ทางด้านใต้ของหาด บริเวณเชิงเขา "โพธิ์แบะ"มีแนวหาดหินใต้น้ำเป็นแหล่งดำน้ำตื้นที่มีชื่อเสียงที่สุดแห่งหนึ่งของ จังหวัดชุมพร เพราะมีสาหร่าย ฟองน้ำ ดอกไม้ทะเล และปลาทะเลนานาชนิด จากหาดทุ่งวัวแล่นนัก ท่องเที่ยวสามารถที่จะเช่าเรือไปชมเกาะต่าง ๆ ได้


สถานที่ท่องเที่ยวที่3 ถ้ำเขาเงิน, ชุมพร

ชุมพร

 ถ้ำเขาเงิน
     ตั้งอยู่บริเวณเดียวกันกับสวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ฯ ชุมพร ภายในถ้ำเป็นห้องโถงขนาดใหญ่ บริเวณหน้าถ้ำมีเจดีย์วัดถ้ำเขาเงิน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าฯให้ สร้างขึ้นเมื่อ ครั้งเสด็จประพาสเมืองหลังสวน เมื่อ พ.ศ. 2472และให้เปลี่ยนนามถ้ำใหม่เรียกว่า "วัดถ้ำเขาเงิน" และโปรดเกล้าฯ ให้สลักพระปรมาภิไธยย่อ "จปร" ไว้ด้วย
ท่องเที่ยว


หาดภราดรภาพชุมพร
ชุมพร

 หาดภราดรภาพ
     อยู่ห่างจากตัวเมืองชุมพรไปตามทางหลวงหมายเลข 4119 และ 4098 ระยะทางประมาณ 12 กม. หาดภราดรภาพเป็นหาดขนาดใหญ่ที่มีความยาวทอดขนานไปกับแนวถนนที่หนาแน่นด้วย ต้นมะพร้าว ตลอดเส้นทาง
 สถานที่ท่องเที่ยวท่องเที่ยวท่องเที่ยว
ท่องเที่ยว

                                                ศาลจังหวัดชุมพร





ที่จุดประทัดเปรียบเสมือนเสียงปืน



สถานที่สวรรคต ศาลเล็ก






เรือรบหลวงชุมพร ตั้งอยู่เชิงเขาก่อนถึงทางขึ้นศาลฯเรือรบหลวงชุมพรเป็นเรือตอปิโดขนาดใหญ่ ยาว 68 ม.กว้าง
6.55 ม. ต่อในประเทศอิตาลี ขึ้นระวางประจำการเมื่อวันที่ 5 ต.ค. 2481
   ในอดีตกรมหลวงชุมพรได้ทำหน้าที่คุ้มกันเรือลำเลียงทหารนกวิกโยธินขึ้นบก ลาดตระเวนตรวจชายฝั่ง กวาดทุ่นระเบิดและป้องกันการโจมตีและยกพลขึ้นบกของฝ่ายข้าศึก ภายหลังปลดระวางเมื่อวันที่ 26 พ.ย. 2518 กองทัพเรือจึงได้มอบเรือรบหลวงชุมพรให้ จ.ชุมพร นำมาจอดที่หาดทรายรีในปี พ.ศ. 2522 เพื่อเป็นอนุสรณ์แด่บิดาแห่งทหารเรือไทย
   บริเวณที่จัดแสดงเรือรบหลวงชุมพรเทคอนกรีตเป็นลานกว้างรอบลำเรือ นักท่องเที่ยวสามารถเดินเที่ยวชมได้สะดวกและนิยมถ่ายรูปเป็นที่ระลึกกับเรือรบหลวงชุมพรกันมาก แต่ไม่อนุญาติให้ขึ้นไปบนเรือ

                      เรือรบด้านล่างซ้าย
                                                                                                 

เรือรบด้านล่างขวา
                                            คำขวัญจังหวัดชุมพร
ชุมพรประตูภาคใต้ ไหว้เสด็จในกรม  ชมไร่กาแฟ  แลหาดทรายรี ดีกล้วยเล็บมือ ขึ้นชื่อรังนก

                 จังหวัดชุมพร มีชื่อปรากฏมาตั้งแต่ปี พ.ศ.1098 โดยมีฐานะเป็นเมืองหน้าด่านของนครศรีธรรมราช ใช้รูปแพะเป็นตราเมือง เป็นเมืองใน อาณาจักรฝ่ายใต้ของกรุงศรีอยุธยาในรัชสมัยแผ่นดินสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ในสมัยรัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งเป็นมณฑลชุมพร ต่อมามีการยุบการปกครองระบอบมณฑล ชุมพรจึงมีฐานะเป็นจังหวัด
คำว่า “ชุมพร” สันนิษฐานว่ามีที่มาจากคำต่าง ๆ ว่า “ชุมนุมพล” เนื่องจากเป็นเมืองหน้าด่าน การเดินทัพไม่ว่าจะมาจากฝ่ายเหนือหรือว่าฝ่ายใต้ ล้วนเข้ามาตั้งค่ายชุมนุมพลกันที่นี่ จึงเรียกจุดนี้ว่า “ชุมนุมพล” ต่อมาเพี้ยนเป็น “ชุมพร” อีกความหมายหนึ่งอาจมาจากคำว่า “ ชุมนุมพร” เนื่องจากประการหนึ่งในการเดินทางไปทำศึกสงครามของแม่ทัพนายกอง ตั้งแต่สมัยโบราณมา เมื่อจะเคลื่อนพลจะต้องทำพิธีส่งทัพโดยการบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ขอให้ได้รับชัยชนะในการสู้รบเป็นการบำรุงขวัญทหาร ในสถานที่ชุมนุมเพื่อรับพรเช่นนี้ ตรงกับความหมายชุมนุมพร หรือประชุมพร
แต่อีกทางหนึ่งสันนิษฐานว่า น่าจะได้มาจากชื่อพันธุ์ไม้ธรรมชาติในท้องถิ่น ได้แก่ ต้นมะเดื่อชุมพร เพราะที่ตั้งของเมืองชุมพรนั้นอยู่บนฝั่งแม่น้ำท่าตะเภา มีต้นมะเดื่อชุมพรขึ้นมากมาย ต้นมะเดื่อชุมพรจึงเป็นสัญลักษณ์ส่วนหนึ่งของตราประจำจังหวัดชุมพร
                                                   ต้นไม้ประจำจังหวัดชุมพร