วันพฤหัสบดีที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2556





 หาดผาแดงชุมพร
ชุมพร

 หาดผาแดง
     ห่างจากหาดภราดรภาพไปประมาณ 2 กม. เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่แปลกตาแห่งหนึ่ง คือ เป็นหน้าผาดินแดงสูงประมาณ 10 เมตร สามารถนั่งชมทะเลเกาะแก่ง และหาดทรายได้ หาดทราย ด้านล่าวประกอบด้วยหินชนิดต่าง ๆ ที่สวยงาม และมีสถานที่พักไว้บริการแก่นักท่องเที่ยวด้วย
 สถานที่ท่องเที่ยวท่องเที่ยวท่องเที่ยว
ผาแดง
ท่องเที่ยว

                                                     
คลื่นลมแรงที่ปากน้ำชุมพร

 ปากน้ำชุมพร, ชุมพร
ชุมพร

 ปากน้ำชุมพร

     อยู่ห่างจากตัวเมืองตามถนนหมายเลข 4119 และ 4098 ประมาณ 13 กม. เป็นท่าจอดเรือ ประมงมีอาหารทะเลจำหน่ายเป็นจำนวนมาก ถือเป็นแหล่งเศรษฐกิจที่สำคัญของจังหวัดชุมพร



ท่าเรือไปเกาะเต่าชุมพร
 

 ท่าเรือไปเกาะเต่า
     นักท่องเที่ยวที่ต้องการเดินทางไปเกาะเต่า  (จริงๆ แล้วเกาะเต่า อยู่ในเขตอำเภอเกาะพงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี) สามารถใช้ บริการเรือโดยสารที่ท่าเรือท่ายาง โทร. (077) 521953-5 ห่างจากตัวเมืองชุมพรประมาณ 7 กม. มีรถสองแถวจากตัวเมืองชุมพรไปท่ายาง และมีเรือออกจากท่ายางไปบ้านแม่หาดที่เกาะเต่า ทุกวัน วันละ1 เที่ยวเวลา 24.00 น. ถึงเกาะเต่า เวลา 06.00 น. ของวันรุ่งขึ้น เที่ยวกลับเรือออกจาก เกาะเต่า เวลา 10.00 น. ถึงชุมพร เวลา 15.00 น. ค่าโดยสารคนละ 200 บาท หรือเดิน ทางโดยเรือเร็ว ของโรงแรมจันทร์สมชุมพรออกจากท่าเรือบางคอย เที่ยวไปเรือออก เวลา 08.00 น. ถึงเกาะเต่าเวลา 10.00 น. เที่ยวกลับเรือออก เวลา 15.00 น. ถึงชุมพร เวลา 17.00 น. ค่าโดยสาร คนละ 400 บาท สอบถามรายละเอียดได้ที่ บริษัท ส่งเสริมแทรเวล โทร. (077) 503735, 503764
 สถานที่ท่องเที่ยวท่องเที่ยวท่องเที่ยว
ท่องเที่ยว



 สถานที่ท่องเที่ยว
ท่องเที่ยว
ท่องเที่ยว









 แผนที่ชุมพร
 
 แผนที่ จังหวัด ชุมพร
Chumporn - Mapสถานที่ท่องเที่ยว
1ปากน้ำชุมพร
2หาดผาแดง
3หาดภราดรภาพ
4หาดทรายรี
5อ่าวทุ่งมะขาม
6หาดทรายรีสวี
หมายเหต ดูตามหมายเลขในแผนที่
สงวนลิขสิทธิ์ โดย thai-tour.com


 ของฝากชุมพร
 
 สินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึก
ของที่ระลึกจากชุมพร มีอยู่หลากหลายชนิดทั้งผลไม้สดและผลไม้กวน เช่น กล้วยเล็บมือนางมังคุด ส้มโอพันธุ์เจ้าเสวย สับปะรดสวี ทุเรียนหลังสวน เงาะ ลางสาด ลองกอง ระกำหวานกล้วยเล็บมือนางอบน้ำผึ้ง ลูกจันทร์อบ ทุเรียนกวน ทุเรียนฉาบ เป็นต้น หาซื้อได้ที่ตลาดอำเภอหลังสวน อำเภอสวี และร้านค้าที่อยู่บริเวณหลังสถานี บ.ข.ส. ชุมพร นอกจากนี้ยังมีผลิตภัณฑ์จากทะเล เช่น กะปิ น้ำปลากะตัก ปลาหมึกแห้ง ปลาเค็ม และสินค้าหัตถกรรมพื้นบ้าน เช่น เสื่อกระจูด ไม้กวาดดอกหญ้า ดอกไม้ประดิษฐ์ เป็นต้น




ร้านอาหารชุมพร
(รหัสทางไกล 077) 
 
 อำเภอเมือง
 ภัตตาคารตั้งซุ่นกี่32-36 ถนนท่าตะเภา โทร. 511120, 502907 อาหารไทย จีน
 ภัตตาาคารฉั่วคุ้ยกี่59-61 ถนนศาลาแดง โทร. 511033, 502527 อาหารไทย จีน
 สวนอาหารรินทร์ถนนกรมหลวงชุมพร โทร. 511531 อาหารไทย
 มัลลิกา108/8 ถนนสายชุมพร-ปากน้ำ โทร. 502291, 502931-3 อาหารไทย
 ปาปาคาเฟ่188/181 ถนนศาลาแดง โทร. 511972 อาหารไทย
 สวนอาหารเพื่อนใจด้านหลังสถานีรถไฟชุมพร โทร. 501480 อาหารไทย
 กานดาถนนปรมินทรมรรคา โทร. 511707 อาหารไทย จีน ฝรั่ง
 กินนี่ดี273/5-6 ถนนปรมินทรมรรคา โทร. 501606, 511756 อาหารไทย
 เฟื่องฟ้าถนนกรมหลวง โทร. 501981 อาหารพื้นเมือง
 จันทร์สม คาเฟ่ภายในโรงแรมจันทร์สมชุมพร โทร. 502502 อาหารไทย จีน ฝรั่ง
 สราญรมย์ทรอปิคาน่าตรงข้ามโรมแรมท่าตะเภา ถนนท่าตะเภา โทร. 511735, 570268
 กัลปังหาบริเวณหาดทรายรี โทร. (077) 521429 อาหารทะเล
 อำเภอประทิว
 ระเบียงทะเลตรงข้ามโรงแรมชุมพรคาบาน่ารีสอร์ท โทร. 560246-7 อาหารทะเล

 เทศกาลประเพณีชุมพร

งานวันผลไม้หลังสวน
จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ประมาณเดือนสิงหาคม กิจกรรมที่สำคัญคือ การประกวดผลไม้ ตลาดนัดผลไม้ ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากผลไม้ และมีการประกวดเทพีผลไม้ เป็นต้น
งานเทิดพระเกียรติกรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์
จัดขึ้นระหว่างวันที่ 19-25 ธันวาคม ของทุกปี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเทิดพระเกียรติ พลเรือเอกพระบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ หรือ "เสด็จเตี่ย" ของชาวชุมพรและพระบิดาของกองทัพ กิจกรรมที่สำคัญในงานประกอบด้วยนิทรรศการพระราชประวัติ การแสดงพื้นเมืองภาคใต้และการแสดงมหรสพ เป็นต้น
งานประเพณีแห่พระแข่งเรืออำเภอหลังสวน
เป็นประพณีเก่าแก่ของอำเภอหลังสวนซึ่งมีมากกว่า 100 ปี จัดขึ้นในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 หรือประมาณเดือนตุลาคมของทุกปี มีกิจกรรมที่สำคัญคือ การแห่เรือพระประกอบด้วยเรือพระจากวัดต่าง ๆ ที่ได้รับการตกแต่งอย่างสวยงาม และการแข่งขันเรือพายในแม่น้ำหลังสวน
งานโลกทะเลชุมพร
จัดขึ้นในระหว่างกลางเดือนมีนาคม ถึงต้นเดือนเมษายนของทุกปี ณ บริเวณหาดทรายรี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดชุมพร เพื่อกระจายรายได้ให้กับประชาชนในท้องถิ่นและเพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ กิจกรรมที่สำคัญในงานคือ การแข่งขันตกปลา การประกวดภาพถ่ายแหล่งท่องเที่ยว การจัดนิทรรศการแหล่งท่องเที่ยว และการแข่งขันวิ่งมินิมาราธอน เป็นต้น


                           การเดินทางชุมพร


ถยนต์
จากกรุงเทพฯ ใช้เส้นทางพุทธมณฑล นครปฐม-เพชรบุรี หรือ เส้นทางสาย ธนบุรี-ปากท่อ (หมายเลข 35) แล้วแยกที่อำเภอปากท่อ เข้าทางหลวงหมายเลข 4 (ถนนเพชรเกษม) ผ่านจังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ จนถึงสี่แยกปฐมพร จากนั้นแยกซ้ายเข้าตัวเมืองชุมพร ตามทางหลวงหมายเลข 4001 อีกประมาณ 8 กม. รวมระยะทางประมาณ 460 กม.

ทางรถไฟ
จากสถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) มีรถเร็ว และรถด่วนไปจังหวัดชุมพรทุกวัน รายละเอียดเพิ่มเติม ติดต่อสอบถามได้ที่ โทร. 223-7010, 223-7020 หรือที่สถานีชุมพร โทร. (077) 511103
จากสถานีรถไฟธนบุรี (บางกอกน้อย) มีขบวนรถดีเซลรางไปจังหวัดชุมพรทุกวัน รายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อสอบถามได้ที่ โทร. 411-3102

รถโดยสารประจำทาง
มีรถโดยสารธรรมดาของบริษัท ขนส่ง จำกัด ออกจากสถานีขนส่งสายใต้ไปชุมพรทุกวัน สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สถานีขนส่งสายใต้ ถนนบรมราชชนนี โทร. 434-5557-8, 435-1199 สำหรับเที่ยวกับกลับจากชุมพรเข้ากรุงเทพฯ ขึ้นรถได้ที่ สถานี บ.ข.ส. ชุมพร ถนนท่าตะเภา โทร. (077) 502725, 511094
สำหรับรถโดยสารปรับอากาศ ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
1. บริษัท โชคอนันต์ทัวร์ โทร. 435-5027-9, 435-7429 ที่สถานีชุมพร โทร. (077) 511480, 511757
2. บริษัท สุวรรณนทีทัวร์ โทร. 435-5026 ที่สถานีชุมพร โทร. (077) 511422

เครื่องบิน
สนามบินชุมพรอยู่ที่ อ. ปะทิว อยู่ห่างจาก อ. เมืองชุมพร ประมาณ 40 กม. ขณะนี้มีสายการบินแอร์อันดามันให้บริการอยู่บริษัทเดียว สัปดาห์ละ 3 วัน ใช้เวลาเดินทางประมาณ 1.20 ชม. โดยมีรถตู้บริจากสนานบิน-เมืองชุมพร
การเดินทางภายในตัวเมือง
ในตัวเมืองชุมพรมีสองแถวเล็กสีฟ้าให้บริการวิ่งรอบเมื่องจุดสำคัญ ๆ ที่ผ่าน เช่น สถานีขนส่ง สถานีรถไฟ ตลาดสด เป็นต้น
การคมนาคมภายในจังหวัดชุมพร และจากชุมพรไปจังหวัดใกล้เคียง 
รถโดยสารประจำทางสายชุมพร-สวี-หลังสวน รถจอดหน้าตลาดชุมพร ถนนท่าตะเภา ตั้งแต่เวลา 06.00-18.00 น. รถแท๊กซี่ รถจอดที่คิวแท๊กซี่ หลังตลาดสดเก่า ตรงข้ามสถานี บ.ข.ส. ชุมพร มีบริการเดินรถไปอำเภอหลังสวน จังหวัดระนอง จังหวัดสุราษฎร์ธาน
รถโดยสารประจำทาง รถออกที่สถานี บขส.ชุมพรเมืองใหม่ ถนนเพชรเกษม

รถตู้ มีคิวรถไปยังจังหวัดและอำเภอต่าง ๆ ดังนี้
- เดินทางไปกระบี่ นครศรีธรรมราช ประจวบคีรีขันธ์ รวมทั้งอำเภอต่าง ๆ ในชุมพร ขึ้นรถที่ถนนเลียบทางรถไฟ
- เดินทางไปชุมพร-สุราษฎร์ธานี หรือ ชุมพร-หลังสวน ขึ้นรถที่ชุมพร ไนท์ พลาซ่า
- เดินทางไปชุมพร-ระนอง ขึ้นรถที่ถนนท่าตะเภา

รถสองแถว มีบริการรถสองแถวบริการไปแหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆ เช่น
- หาดทุ่งวัวแล่น ขึ้นรถที่หลังตลาดเทศบาลชุมพร
- หาดทรายรี ขึ้นรถที่ข้างศาลหลักเมือง
- วิ่งรอบเมืองชุมพร เวลา 08.00-15.00 น. ขึ้นรถที่ถนนเลียบทางรถไฟ และเวลา 15.00-21.00 น.ขึ้นรถที่โรงพยาบาลชุมพร
ขับรถเที่ยว
จากจากกรุงเทพฯ ใช้ทางหลวงหมายเลข 4 (ถ. เพชรเกษม) ผ่าน จ. นครปฐม ราชบุรี และประจวบคีรีขันธ์ เมื่อถึงแยกปฐมพรให้เลี้ยวซ้ายสู่ตัว จ. ชุมพรตามทางหลวงหมายเลข 4001 รวมระยะทางประมาณ 498 กม. ถ้าขับแบบสบาย ๆ ใช้เวลาราว 6-7 ชม.ทางหลวงหมายเลข 4 ปัจจุบันเป็นถนนสี่เลนอย่างดี สะดวกสบายกว่าเดิมทางในอดีตมาก นอกจากนี้เส้นทางไปในแหล่งท่องเที่ยวส่วนใหญ่ โดยเฉพราะเส้นทางที่ไปยังชายหาดต่าง ๆ แม้จะเป็นถนนสองเลนแต่ก็ลาดยางทั้งหมด จะมีก็แต่เพียงเส้นทางไปน้ำตกบางแห่งเท่านั้นที่ยังเป็นทางลูกรัง ซึ่งในช่วงฤดูฝนใช้รถกระบะหรือรถที่มีช่วงล่างสูงสามารถไปได้ แต่ถ้าเป็นช่วงฤดูฝนใช้รถขับเคลือนสี่ล้อจะสะดวกกว่าเส้นทางชมหาดสวย ๆ ที่น่าขับรถเที่ยวอยู่บนทางหลวงหมายเลข 4001 (ชุมพร-หาดทรายรี) ช่วงเลียบหาดเริ่มจากศาลกรมหลวงชุมพรฯ ผ่านหาดภราดภาพ ไปจนถึงหาดทรายรี อีกเส้นหนึ่งเริ่มจาก บ้านบางเบิด อ. บางสะพานน้อย จ. ประจวบคีรี มาสู่อ่าวถ้ำธงของชุมพรเป็นเส้นทางชมหาดทึ่สวยงามของหาดที่สวยงามแห่งหนึ่ง และจะเนียกว่าสวยที่สุดในชุมพรก็ว่าได้ เพราะแทบไม่มีสิ่งก่อสร้างมาบดบังทัศนียภาพอันงดงามของหาดทรายและท้องทะเลนอกจากทิวสนที่ยืนต้นล้อลมอยู่บนสันทรายเท่านั้น หากเบื่อบรรยากาศหาดทรายทะเล ก็ขับรถไปตามทางหลววหมายเลข 4006 (หลังสวน-พะโต๊ะ) เส้นทางนี้เป็นเส้นทางขึ้นลงเขาคล้ายกับบรรยากาศการขับรถเที่ยวทางภาคเหนือสามารถขับรถชมทิวทัศน์ป่าลำเนาไพรอย่างดพลิดเพลิน

การเดินทางจากอำเภอเมืองชุมพรไปยังอำเภอต่าง ๆ 

- อำเภอปะทิว 30 กิโลเมตร
- อำเภอท่าแซะ 32 กิโลเมตร
- อำเภอสวี 45 กิโลเมตร
- อำเภอทุ่งตะโก 62 กิโลเมตร
- อำเภอหลังสวน 76 กิโลเมตร
- อำเภอละแม 95 กิโลเมตร
- อำเภอพะโต๊ะ 115 กิโลเมตร
หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ (รหัสทางไกล 077) 
สำนักงานจังหวัดชุมพร 511551
ขนส่งจังหวัดชุมพร 502268
กองกำกับการตำรวจภูธรจังหวัดชุมพร 511004
โรงพยาบาลจังหวัดชุมพร 503672
เทศบาลเมืองชุมพร 511024
สถานีรถไฟชุมพร 511103
สถานี บ.ข.ส. จังหวัดชุมพร 502725

วันพุธที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2556



                                                                         ประวัติกรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์
                 
พระบิดาแห่งทหารเรือไทย พระองค์ท่านเป็นที่เคารพรักของเหล่าทหารเรือ ชาวประมง และปราชาชนทั่วไปโดยเฉพาะชาวชุมพรนั้นกล่าวได้ว่า แทบทุกบ้านจะมีพระรูปของพระองค์ท่านไว้บูชา ด้วยทรงเป็นที่เคารพศรัทธายิ่งจนมีพระสมัญญาว่า "เสด็จเตี่ย"
   กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ทรงเป็นพระเจ้าลูกยาเธอในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้สเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ประสูติเมื่อ วันที่ 19 ธ.ค. 2423 พระนามเดินมว่า พระองค์เจ้าชายอาภากรเกียรติวงศ์ทรงเข้ารับการศึกษาเบื้องต้นในพระบรมมหาราชวัง และเป็นนักเรียนโรงเรียนหลวง ณ พระตำหนักสวนกุหลาบอยู่จนถึงโสกันต์
   ในปี พ.ศ.2436 เมื่อพระชนมายุได้ 13 พรรษาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เสด็จไปทรงศึกษาต่อที่ประเทศอังกฤษ พร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ และทรงศึกษาต่อในวิชาการทหารเรือ ทรงสอบผ่านหลักสูตรชั้นสูงสุดของโรงเรียนนายเรืออังกฤษ จากนั้นจึงเสด็จนิวัติสู้สยาม
   ในปี พ.ศ.2447 ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาอิสริยยศขึ้นเป็นพระองค์เจ้าต่างกรม มีพระนามตามพระสุพรรณบัฏว่า พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นชุมพรเขตรอุดมศักดิ์สิงหนาม ขณะที่ดำรงตำแหน่งเจ้ากรมยุทธศึกษาทหารเรือ ทรงดำริถึงการปรับปรุงกิจการทหารเรือ โดยทหารเรือสยามควรปฏิบัติงานแทนนายทหารเรือต่างชาติที่ราชสำนักสยามจ้างไว้ได้ อันถือเป็นการวางรากฐานวิชาการทหารเรือตามแบบตะวันตกเป็นครั้งแรกในสยาม
   และในปี พ.ศ. 2448 ทรงกราบทูลพระราชบิดาเพื่อขอพระราชทานที่ดินในการจัดตั้งโรงเรียนนายเรือที่บริเวณพระราชวังเดิม ฝั่งธนบุรี หลังจากนั้นได้ก่อตั้งโรงเรียนพลทหารเรือในเขตจังหวัดชายทะเล เช่น สมุทรสงคราม สมุทรสาคร สมุทรปราการ จันทบุรี ระยอง และชลบุรี
   เมื่อครั้งที่ทรงดำรงตำแหน่งเสนาธิการทหารเรือในปี พ.ศ. 2465 ได้กราบบังคมทูลพระราชบิดาขอพระราชทานที่ดินบริเวณ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี เพื่อตั้งเป็นฐานทัพเรือ อันเป็นรากฐานสำคัญต่อการพัฒนากองทัพเรือต่อมา
   พระราชกรณียกิจที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ ทรงเป็นหมอยาไทยในช่วงที่พระองค์ทรงออกจากประจำการระหว่างปี พ.ศ. 2466 ทรงศึกษาวิชาแพทย์แผนไทยจากพระยาพิษณุฯ หัวหน้าหมอหลวงแห่งพระราชสำนัก หัวหน้าฝ่ายยาไทยแห่งประเทศไทย ซึ่งได้ทรงรักษาประชาชนทั่วไปจนรู้จักกันดีในนาม "หมอพร"
   ในปี พ.ศ. 2463 ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนพระอิสริยยศเป็นพลเรือเอก พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์สิงหนาม หลังจากนั้น พ.ศ. 2466 ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทรงดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงทหารเรือ จนกระทั่งประชวรพระโรคภายใน จึงกราบบังคมทูลลาออกจากราชการและเสด็จไปประทับที่ชายทะเลหาดทรายรี ทางใต้ของปากน้ำ จ. ชุมพร และสิ้นพระชนม์ เมื่อวันที่ 19 พ.ค. 2466 ขณะมีพระชนมายุเพียง 44 พรรษา